พาชมฝ้า Trandar Focus F ที่หอศิลป์แห่งชาติ แลนด์มาร์คแสดงงานศิลปะแห่งใหม่ของไทย

หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร
หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ 

ฝ้า Trandar Focus F

ขนาด 600x1200x20 มม

ลักษณะ

ฝ้าอะคูสติก Trandar Focus F ผลิตจากเส้นใย Akutex มีความไฮยีนสูง มีดีไซน์ที่ทันสมัย มีผิวที่เรียบเรียนสวยงาม มีค่าความไฮยีนสูง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องฝุ่นที่จะหลุดร่วงลงมา และได้รับการรับรองจากสถาบันโรคภูมิแพ้จากประเทศสวีเดน ว่าไม่มีสารที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้มาตรฐานอาคารสีเขียวเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ติดตั้งแบบเข้าลิ้น เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะเห็น V-Groove เพียง 4 มม. ติดตั้งง่าย ช่วยประหยัดเวลาในการติดตั้ง

คุณสมบัติ

  • ผลิตจาก เส้นใย Akutex  โดยใช้ 3RD Technology
  • มึค่าการดูดซับเสียง (NRC) ไม่น้อยกว่า 0.75 ซึ่งมากกว่าฝ้าทั่วไปถึง 2 เท่า
  • ผิวของแผ่นฝ้ามีความละเอียด ไม่มีรู ให้ความรู้สึกนุ่มนวล สบายตาต่อผู้ใช้พื้นที่
  • มีความไฮยีนสูง สะอาด ปลอดเชื้อ ปลอดฝุ่น ไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้และทางเดินหายใจ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • สามารถทนความชื้นได้สูง ไม่แอ่นตัวและไม่เกิดการตกท้องช้างอย่างแน่นอน
  • สามารถติดตั้งและทำความสะอาดได้อย่างง่ายดาย ช่วยประหยัดในเรื่องของค่าบำรุงรักษา
  • ไม่ลามไฟและไม่เกิดควันพิษ Class A2-s1, d0 ทดสอบตามมาตรฐาน EN 13501-1
  • มีค่าการกระจายแสงทั่วห้อง 99% ภายในห้องทำให้ห้องสว่างเท่ากันอย่างสม่ำเสมอ
  • ประหยัดพลังงานภายในอาคาร ช่วยลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร
  • ขนาด  600x1200x20 มม.

สายอาร์ตไม่ควรพลาด! ตอนนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรม เปิดพื้นที่หอศิลป์แห่งชาติ ให้เป็นแลนด์มาร์คแสดงงานศิลปะแห่งใหม่ของไทย พร้อมอ้าแขนรับคนรักงานศิลปะ จากทั่วโลกมาชื่นชมผลงาน ศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินไทยและศิลปินต่างชาติ หลายแขนงมาไว้มากมาย

ที่หอศิลป์แห่งชาติ ของ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) อยู่บนถนนเทียมร่วมมิตร กรุงเทพฯ เรียกว่ากำลังจะกลายเป็นจุดหมายใหม่ของสายอาร์ต เพราะที่นี่ได้สร้างหอศิลป์ให้เป็นศูนย์กลางศิลปะใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้พัฒนาพื้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 35 ไร่ ให้เป็นพื้นที่การบริการระดับนานาชาติ 


หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร
หอศิลป์แห่งชาติ ถนนเทียมร่วมมิตร

ต่อไป เข้ามาดูข้างในหอศิลป์กันค่ะ!! 


ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F
ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F

เชื่อว่าใครที่เป็นสายอีเวนท์ ชอบเดินชมงานศิลปะตามแกลลอรี่ ต้องถูกใจแน่นอนค่ะ!

ซึ่งภายในหอศิลป์นี้ก็จะมี 3 โซน ที่เป็นโซนไว้สำหรับจัดแสดงผลงานของศิลปินต่างๆ ให้เข้าชม ในแต่ละห้องก็จะให้บรรยากาศที่เงียบสงบ ภายในกว้างใหญ่ มีเวลาให้เดินดู และเสพผลงานได้แบบฟินๆ


ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F
ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F
ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F
ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F

แต่การที่ห้องใหญ่มากกก แล้วเก็บเสียงได้เงียบกริ๊บขนาดนี้ เบื้องหลังนั้นทางหอศิลป์ได้มีเครื่องมือลับบางอย่าง ที่หลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบ  นั่นก็คือ… แผ่นดูดซับเสียงที่อยู่บนฝ้าเพดานนั่นเองค่าา!

โดยที่นี่เลือกใช้เป็นฝ้าอะคูสติก Ecophon รุ่นยอดนิยมของแทรนดาร์ เป็นรุ่น Focus F ค่ะ สามารถใช้ได้ทั้งติดกับโครงซีไลน์ หรือจะติดทับกับยิปซัมก็ทำได้ เหมาะกับทั้งงานสร้างใหม่ หรือจะรีโนเวทก็ติดตั้งได้ง่ายๆ ไม่ต้องรื้อฝ้าเดิมออกเลยค่ะ


ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F
ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F

หลายๆโปรเจคก็นิยมติดทับยิปซัม เน้นงานสะดวกรวดเร็ว แต่หอศิลป์ที่นี่เจ๋งไปกว่านั้น เพราะว่าเลือกใช้ ฝ้าอะคูสติก Ecophon Focus F กับโครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสี ผ่านมาตรฐาน มอก. โครง Heplar Pro C-Line ซึ่งเป็นโครงจาก แทรนดาร์ อีกเช่นกัน โดยผู้รับเหมาของโปรเจคนี้ คือ บริษัท กรณิศ ก่อสร้าง ได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบอะคูสติก

เพราะการติดตั้งร่วมกับโครงคร่าวซีไลน์ จะช่วยให้ได้ค่า NRC สูงขึ้นจากการติดตั้งทับยิปซัม ทำให้ห้องจัดนิทรรศการทั้ง 3 ห้อง ที่หอศิลป์แห่งชาตินี้ เมื่อคุณได้เข้าไปแล้วเสียงภายในจะเงียบมากก บอกเลยว่าฟิน ไร้เสียงรบกวนจากผู้คนรอบข้าง ที่เข้าชมพร้อมกันหลายคน


ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F
ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F

เพราะว่า Ecophon Focus F เป็นฝ้าดูดซับเสียง ไม่เห็นโครงทีบาร์ และฝ้าดูดซับเสียง Focus F เป็นฝ้าติดตั้งแบบเข้าลิ้น และมีผิวหน้าเนียนเรียบสวยงาม มีค่าอะคูสติกสูงถึง 0.75

มีค่าความเป็นไฮยีนสูง และยังมีค่าการกระจายแสงที่สูงถึง 99% ช่วยให้ห้องทั้งห้องจะสว่างเท่ากัน ไม่ว่าจะอยู่มุมไหน คุณก็สามารถเสพผลงานได้แบบแฮปปี้มีความสุขค่ะ


ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F
ฝ้าอะคูสติก Trandar Ecophon Focus F

ขอขอบคุณรูปภาพ : matichon, siamrath


เจ้าของโครงการ : กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)

ผู้ออกแบบ : กระทรวงวัฒนธรรม

ผู้รับเหมาก่อสร้าง : บริษัท กรณิศ ก่อสร้าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

19 − 16 =