ผลิตภัณฑ์ที่ใช้
ฝ้าอะคูสติกใยไม้ Trandar Heradesign ขนาด 600x1200x25 มม.
ลักษณะ
แผ่นใยไม้อะคูสติกใยไม้มีส่วนผสมของใยไม้ และแร่เมกนิไซท์ ทำให้แผ่นมีความแข็งแรงทำงานง่ายเหมือนงานไม้ทั่วไป สามารถใช้เครื่อง CNC ตัดได้เลย สามารถนำมาหุ้มผ้าแทนฉนวนได้เลย เพราะนานๆไปฉนวนพวกนี้จะยุบตัว แต่ถ้าใช้ Trandar Heradesign จะไม่ยุบตัว จะคงสภาพอยู่ได้ยาวนาน หรือจะนำมาสกรีนเป็นลวดลายหรือรูปที่คุณชอบ ซึ่งTrandar Heradesign เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน สามารถใช้งานได้ทุกฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็น ห้องซ้อมดนตรี ห้องดูหนัง ห้องเรียน ห้องประชุม หรือแม้แต่ห้องอาหาร ก็สามารถดีไซน์ตกแต่งได้หลากหลาย และยังได้ค่าอะคูสติกในการซับเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้องอีกด้วย
คุณสมบัติ
- ผลิตและนำเข้าจากประเทศออสเตรียทำให้สินค้ามีคุณภาพ มีมาตรฐานสูง
- มีส่วนผสมหลักคือ เส้นใยไม้, แร่แมกนิไซท์ และน้ำ ทำให้มีความแข็งแรงทนทาน ทำงานและติดตั้งง่ายเหมือนงานไม้ทั่วไป
- มีค่าอะคูสติก (์NRC) สูงถึง 1 เมื่อติดตั้งเป็น System ร่วมกับ โครง Trandar Heplar และฉนวน dB phon
- มีผิวหน้าเรียบเนียนสามารถนำแผ่นมาต่อกันได้อย่างเนียนสนิท
- สามารถนำมาหุ้มผ้าตกแต่งผนังแทน ฉนวนหรือฟองน้ำได้ เพราะนานๆไปฉนวนหรือฟองน้ำจะยุบตัวลง ทำให้ไม่สวย
- สามารถนำมาพ่นสีได้ถึง 6 รอบโดยที่ค่าอะคูสติกไม่ลดลง
- มีมาตรฐานไม่ลามไฟ B-S1, d0
- มีส่วนผสมจากแร่เมกนิไซท์ ทำให้สามารถควบคุมความชื้นได้ดี สามารถติดตั้งบริเวณสระว่ายน้ำได้อย่างไร้กังวล
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวห้องสมุดใหม่ ที่มีแนวคิดและดีไซน์ใหม่หมด มีทั้งหมด 3 ชั้น ประกอบด้วยที่นั่งทำงาน ที่อ่านหนังสือ ที่จัดแสดงนิทรรศการ และที่ฉายภาพยนตร์ เพื่อเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้กับนิสิต
ห้องสมุดใหม่ สถาปัตย์ จุฬาฯ มีความโดดเด่นทั้งด้านการออกแบบและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ไม่เหมือนห้องสมุดทั่วไป ซึ่งเกิดจากการมองหาไอเดียความเป็นไปได้ใหม่ๆ ว่าห้องสมุดในโลกพัฒนาเป็นอย่างไรได้บ้าง
ห้องสมุดใหม่แห่งนี้ประกอบไปด้วยพื้นที่หลากหลายการใช้สอย เช่นพื้นที่ Co-Working Space การนั่งทำงานกลุ่ม พื้นที่ดูภาพยนตร์ พื้นที่ฟังการบรรยาย พื้นที่จัดนิทรรศการ พื้นที่นำเสนองาน ที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้คน และก็ยังคงมีพื้นที่อ่านหนังสือได้ในอีกหลายบรรยากาศ หนังสือก็ยังคงมีความสำคัญเพราะมีเนื้อหาที่โดดเด่นและแตกต่างไปจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ต หนังสือจึงถูกนำมาโอบล้อมพื้นที่เพื่อให้เรากลับมาให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสือจริงๆ มากขึ้น
ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานการสร้างสรรค์และริเริ่มโดยนายเสริมสิน สมะลาภา นิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมด้วย รศ. ดร.ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ คณบดี ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข ผู้ช่วยอธิการบดี และ น.ส.ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ นายชัยภัฏ มีระเสน สถาปนิกจาก Department of Architecture ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 หมวด Library : Best of Year Awards 2019 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์การประชุมเจคอบ เค. จาวิตส์ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
คุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ สถาปนิกประจำ Department of Architecture และนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เล่าถึงโจทย์ท้าทายที่ต้องทำให้ห้องสมุดคณะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งว่าการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากอินเทอร์เน็ตสร้างความแตกต่างในการใช้ห้องสมุด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราได้รับข้อมูลและความรู้
นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ที่เงียบสงบสำหรับผู้ที่ต้องการสมาธิ มีการจัดเรียงโต๊ะอ่านหนังสือเป็นเขาวงกต โครงสร้างเพื่อลดการรบกวนผู้อื่นที่เดินไปมาห้องสมุดเริ่มที่ชั้น 2 ของอาคาร ชั้นนี้จะเป็นส่วนเปิดโล่งขนาดใหญ่ เน้นการเข้ามานั่งทำงานเหมือนเป็น Co-Working and Thinking Space พร้อมส่วนจัดแสดงนิทรรศการที่ถูกออกแบบให้อยู่บนผนังรอบพื้นที่ห้อง หากขึ้นมาที่ชั้น 3 ผ่านบันไดที่ออกแบบให้เป็นจุดสนใจอยู่กลางห้อง สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้คนที่เดินผ่านเห็นมิติต่างๆ ของโครงสร้าง พร้อมทั้งเห็นนิตยสารใหม่ๆ ที่จัดวางไว้อย่างเด่นชัด บนชั้นนี้่จะเป็นพื้นที่ที่มีหนังสือใหม่ๆ ให้เลือกอ่านหลากหลายประเภท มีโต๊ะขนาดใหญ่ไว้ใช้ทำงาน และมีมุมไว้จัดแสดงผลงานต่างๆ อีกด้วย
ชั้นที่ 4 จะแบ่งเป็น 2 โซนหลักๆ คือ Quiet Zone ห้องอ่านหนังสือแบบไม่ใช้เสียง และอีกโซนจะมีจอฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่และที่นั่งชมแบบไล่ระดับ พร้อมฝ้าเพดานที่มีการออกแบบโดยนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ในกรุงเทพฯ มาสร้างสรรค์เป็นแผนที่ขนาดใหญ่ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพทางด้านผังเมือง ด้านการคมนาคม ด้านการบริหารจัดการน้ำ และด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งที่นี่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ฝ้าอะคูสติกใยไม้ Trandar Heradesign ติดตั้งในส่วนของฝ้าทั้งหมด ซึ่งนำมาพ่นสีและแกะสลักเป็นลวดลาย ซึ่งนอกจาก Trandar Heradesign จะได้ค่าอะคูสติกที่ดีแล้ว ยังมีความแข็งแรงทนทานสามารถใช้งานได้ยาวนาน และยังทำงานง่ายเหมือนงานไม้ทั่วไป เพราะห้องสมุดมีผู้คนเข้ามาใช้บริการค่อนข้างเยอะซึ่งหากไม่มีแผ่นอะคูสติกแล้วเวลาพูดคุยกันอาจจะส่งผลทำให้เกิดเสียงก้องได้ ระหว่างการพูดคุยหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีผลิตภัณฑ์อะคูสติกในการดีไซน์
ขอบคุณภาพจาก : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, thairath, dsignsomething, readthecloud
เจ้าของ : คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ออกแบบ : Department Of Architect
ผู้รับเหมาหลัก : บริษัท ทวีพรเทคโนโลยี จำกัด