
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้
ระบบผนังกันเสียง Trandar Zoundboard
ลักษณะ
ระบบผนังกันเสียง TISIS (Trandar Sound Insulation System) ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยทีมวิจัยแทรนดาร์อะคูสติก โดยใช้แผ่นกันเสียง Trandar zoundboard ซึ่งมีเทคโนโลยี Damping Compound อยู่ในเนื้อแผ่น มีคุณสมบัติในการกันเสียงที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดการส่งผ่านพลังงานเสียงและมีประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม ตัวแผ่นเป็นไฟเบอร์ซีเมนต์เบส ติดตั้งร่วมกับโครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีคุณภาพสูง Trandar Heplar และฉนวนกันเสียง Trandar dBphon
คุณสมบัติ
- วัสดุแผ่นแทรนดาร์ ซาวน์บอร์ด มีค่าการกันเสียง 36 dB (STC 36) ที่ความหนา 15 มม. และมีค่าการกันเสียง 33 dB (STC 33) ที่ความหนา 10 มม. หากติดตั้งด้วยระบบ TSIS มีค่าการกันเสียงถึง 58 dB เทียบเท่าการก่ออิฐ 2 ชั้น
- เพิ่มพื้นที่ห้อง ลดขนาดระบบผนัง เมื่อติดตั้งด้วยระบบ TSIS จะหนาน้อยกว่าระบบผนังก่ออิฐ 10 ซม. ทุกความยาวผนัง 10 ม. จะได้พื้นที่ใช้สอย 1 ตรม.
- ประหยัดเวลาในการติดตั้ง ติดตั้งง่ายกว่าระบบผนัง dry wall
- ทนความชื้นเทียบเท่ากับแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์
- แข็งแร็งปลอดภัย
- มีมาตรฐานการกันไฟ สามารถทนไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมง (เมื่อติดตั้ง TSIS58 d160)
- ขนาด 1200x2400x15 มม

เตรียมพบกับ โรงแรม อินเตอร์คอนเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง โดยโรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ตั้งอยู่ในใจกลางเมืองเชียงใหม่ติดกับแม่น้ำปิง โลเคชั่นโดดเด่นและโรงแรมสวยสง่างามหรูหรา พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ซึ่งที่นี่มีคอนเซ็ปต์ ใหม่ให้เหมือนพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทย เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) โดยมีพื้นที่จัดประชุมและจัดเลี้ยงทั้งภายในและภายนอกกว่า 3,600 ตารางเมตร ซึ่งส่วนที่เป็นห้องพักเดิมที่ปรับปรุงใหม่จะเปิดให้บริการได้ในปี 2564 และส่วนขยายใหม่ที่จะแล้วเสร็จอย่างเต็มรูปแบบ




โดยที่นี่ออกแบบโดย PIA Interior Company Limited โดยในส่วนของผนังที่นี่เลือกใช้ผนังกันเสียง Trandar Zoundboard ในการกั้นห้องพักโดยใช้ระบบผนังกันเสียง TSIS58 d160 (ความหนารวมทั้งระบบเพียง 160 เซนติเมตร ให้ค่าการกันเสียงถึง 58 dB) โดยผ่านการทดสอบการกันไฟ ซึ่งสามารถกันไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมง เมื่อติดตั้งทั้งระบบ ซึ่งถือว่าเป็นผนังกันเสียงที่มีมาตรฐานที่สูงที่สุด ได้ทั้งค่าการกันเสียง และได้ทั้งการกันไฟ เมื่อเทียบกับผนังระบบ dry wall ทั่วไป ยังกันไฟได้มากกว่า

ในปี 2565 จะมีการสร้างมาตรฐานใหม่ของโรงแรมและการบริการที่หรูหราในเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่สำคัญทางภาคเหนือของไทย ทั้งยังเป็นจุดหมายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปพักผ่อน และกลุ่ม (MICE) โดยภาพรวมของการท่องเที่ยวของเชียงใหม่จะดูมีชีวิตชีวามากขึ้น หลังจากการขยายพื้นที่ของสนามบินนานาชาติเชียงใหม่ซึ่งทุกๆคนสามารถเตรียมพบกับรูปแบบใหม่ของโรงแรมได้ในปี 2565


เจ้าของโครงการ : Intercontinental
ผู้ออกแบบ : PIA Interior Company Limited
ผู้รับเหมาหลัก : บริษัท อำนาจชัยกิจ อินทีเรีย จำกัด


